สัญญาเพิ่มเติม คุ้มครองโรคร้ายแรง มัลติเพย์
จำนวนคนที่ดูแผนประกันนี้ คน
สัญญาเพิ่มเติม
พร้อมเปย์ 108 โรคร้าย
คุ้มครองโรคร้ายแรงมัลติเพย์
คุ้มครองทุกระยะการเจ็บป่วย
พร้อมขยายความคุ้มครองระยะเริ่มต้น และระยะปานกลางของโรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์

สัญญาเพิ่มเติม พร้อมเปย์ 108 โรคร้าย

คุ้มครองโรคร้ายแรงมัลติเพย์ คุ้มครองทุกระยะการเจ็บป่วย

พร้อมขยายความคุ้มครองระยะเริ่มต้น

และระยะปานกลางของโรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์

จุดเด่นของแบบประกัน
คุ้มครอง 108(1) โรคร้ายแรง
จ่ายทุกระยะโรคร้าย
(ระยะเริ่มต้น ระยะปานกลาง
ระยะรุนแรง)
ครอบคลุม 8 กลุ่มโรคร้าย
(กลุ่มโรคมะเร็ง, กลุ่มอวัยวะและระบบต่างๆ ที่สำคัญ, กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด, กลุ่มระบบประสาท, กลุ่มโรคร้ายอื่นๆ, กลุ่มโรคเด็ก, กลุ่มโรคผู้สูงอายุ, กลุ่มโรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน)
คุ้มครองสูงสุด 7 เท่า(2)
ของจำนวนเงินเอาประกันภัย สัญญาเพิ่มเติม
เบี้ยเริ่มต้นหลักพัน
สร้างความคุ้มครอง
โรคร้ายแรงหลักล้าน
(3)
เคลมครบ 100%
ของจำนวนเงินเอาประกันภัย ยังได้รับความคุ้มครองต่อ
โดยไม่ต้องชำระเบี้ย
ของสัญญาเพิ่มเติมอีก
เบี้ยประกันภัยสามารถ
ลดหย่อนภาษีได้
ตามเกณฑ์ที่สรรพากรกำหนด

(1) พร้อมขยายความคุ้มครองโรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ระยะเริ่มต้น และระยะปานกลาง
(2) สำหรับผู้เอาประกันที่เริ่มทำประกันตั้งแต่เด็ก (อายุ 1 เดือน - 18 ปี) ต่อเนื่องไปจนสูงอายุ (อายุ 51 ปีขึ้นไป)
(3) อัตราเบี้ยประกันภัยสำหรับเพศชายและหญิง อายุ 1 เดือน - 30 ปี เมื่อซื้อแบบคุ้มธนกิจ 99/99 (Nn) จำนวนเงินเอาประกันภัย 500,000 บาท ควบคู่สัญญาเพิ่มเติม คุ้มครองโรคร้ายแรง มัลติเพย์ จำนวนเงินเอาประกันภัย 500,000 บาท

แบบประกันภัยนี้เหมาะกับใคร
  • ผู้ที่ต้องการความคุ้มครองสุขภาพ และโรคร้ายแรง โดยเฉพาะกลุ่มที่มีครอบครัว และเป็นผู้นำครอบครัว
  • สร้างสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลสำหรับโรคร้ายแรง ที่มีวงเงินค่ารักษาสูง
สนใจแบบประกันนี้ โทร 1124 หรือ ฝากข้อมูลให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ

*ผู้กรอกข้อมูลยินยอมให้เจ้าหน้าที่ของ บมจ.ไทยประกันชีวิต ติดต่อหรือใช้ข้อมูลเพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมทางการตลาด

ผลประโยชน์ความคุ้มครอง
ผลประโยชน์สำหรับกลุ่มโรคร้ายแรง 5 กลุ่มโรค
ระดับความรุนแรงของโรคร้ายแรง กลุ่มโรคที่ 1:กลุ่มโรคมะเร็ง กลุ่มโรคที่ 2:กลุ่มโรคร้ายแรงที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะและระบบต่างๆ ที่สำคัญ กลุ่มโรคที่ 3:กลุ่มโรคร้ายแรงที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด กลุ่มโรคที่ 4:กลุ่มโรคร้ายแรงที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท กลุ่มโรคที่ 5:กลุ่มโรคร้ายแรงอื่นๆ
จำนวนโรคที่คุ้มครอง 3 โรค 29 โรค 15 โรค 31 โรค 13 โรค
ระยะเริ่มต้น* 25% 25% 25% 25% 25%
ระยะปานกลาง* 50% 50% 50% 50% 50%
ระยะรุนแรง* 100% 100% 100% 100% 100%
รวมผลประโยชน์สูงสุดต่อกลุ่มโรค* 100% 100% 100% 100% 100%
รวมผลประโยชน์โรคร้ายแรงสูงสุดของสัญญาเพิ่มเติม 500% ของจำนวนเงินเอาประกันภัยสัญญาเพิ่มเติม
กลุ่มโรคที่ 6: ผลประโยชน์กลุ่มโรคร้ายแรงในเด็ก 10 โรค
25% ของจำนวนเงินเอาประกันภัยต่อโรค สูงสุดไม่เกิน 4 โรคที่แตกต่างจากโรคที่ได้จ่ายผลประโยชน์ไปแล้ว ทั้งนี้รวมกันไม่เกิน 100% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย
กลุ่มโรคที่ 7: ผลประโยชน์กลุ่มโรคร้ายแรงในผู้สูงอายุ 3 โรค
25% ของจำนวนเงินเอาประกันภัยต่อโรค สูงสุดไม่เกิน 3 โรคที่แตกต่างจากโรคที่ได้จ่ายผลประโยชน์ไปแล้ว ทั้งนี้รวมกันไม่เกิน 75% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย
กลุ่มโรคที่ 8: ผลประโยชน์กลุ่มโรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน 4 โรค
25% ของจำนวนเงินเอาประกันภัยต่อโรค เมื่อจ่ายผลประโยชน์นี้แล้วให้ความคุ้มครองข้อนี้สิ้นสุดลง
ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยได้รับความคุ้มครองโรคร้ายแรงครบ 100% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย จากกลุ่มโรคใดกลุ่มโรคหนึ่ง หรือข้ามกลุ่มโรค บริษัทจะยกเว้นเบี้ยประกันภัยของสัญญาเพิ่มเติมฉบับนี้ จนกว่าสัญญาเพิ่มเติมฉบับนี้จะสิ้นผลบังคับ

* ของจำนวนเงินเอาประกันภัยสัญญาเพิ่มเติม
หมายเหตุ
- ภายใต้สัญญาเพิ่มเติมนี้จะไม่คุ้มครองการเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายเเรงที่เกิดขึ้นภายใน 90 วัน นับแต่วันเริ่มมีผลคุ้มครองตามสัญญาเพิ่มเติมนี้ หรือหากมีการต่ออายุสัญญา เมื่อสัญญาเพิ่มเติมนี้สิ้นผลบังคับ(Reinstatement) ให้นับแต่วันเริ่มมีผลคุ้มครองตามการต่ออายุครั้งสุดท้าย
- บริษัทฯจะจ่ายผลประโยชน์ของโรคร้ายแรงระยะรุนแรง ก็ต่อเมื่อความผิดปกติ การปรากฏ หรือการทราบอาการของโรคจากการวินิจฉัยของแพทย์เป็นครั้งแรกนั้น ได้พ้นระยะเวลารอคอย ตามการเรียกร้องสินไหมดังต่อไปนี้
- สัญญาเพิ่มเติมนี้ ขยายความคุ้มครองโรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ระยะเริ่มต้นและระยะปานกลาง ภายใต้กลุ่มโรคที่ 4
1) กรณีมีการเรียกร้องสินไหมในกลุ่มโรคที่ 2 (กลุ่มโรคร้ายแรงที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะและระบบต่างๆที่สำคัญ) ภายหลังจากการเรียกร้องสินไหมในกลุ่มโรคที่ 1 (โรคมะเร็ง) การเรียกร้องสินไหมในกลุ่มโรคที่ 2 นั้นจะต้องเกิดขึ้นภายหลังจากวันที่รักษาหายขาดของโรคมะเร็ง และมีระยะเวลาการปลอดการรักษาโรคมะเร็งอย่างน้อย 1 ปี
2) กรณีที่มีการเรียกร้องสินไหมโรคร้ายแรงระยะรุนแรง นอกเหนือจากข้อ 1) การเรียกร้องสินไหมในกลุ่มโรคร้ายแรงระยะรุนแรงครั้งถัดไป จะต้องเกิดขึ้นภายหลังการวินิจฉัยโรคร้ายแรงระยะรุนแรงครั้งล่าสุดอย่างน้อย 1 ปี สำหรับการเรียกร้องสินไหมโรคร้ายแรงระยะเริ่มต้น และระยะปานกลางทั้งในกลุ่มโรคเดียวกัน หรือต่างกลุ่มโรคนั้น จะไม่มีระยะเวลารอคอย
สนใจให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ
ฝากข้อมูลให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ
ติดต่อเจ้าหน้าที่
1124
จันทร์ - ศุกร์
8.30-17.00 น.

*ผู้กรอกข้อมูลยินยอมให้เจ้าหน้าที่ของ บมจ.ไทยประกันชีวิต ติดต่อหรือใช้ข้อมูลเพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมทางการตลาด

ลักษณะความคุ้มครอง สัญญาเพิ่มเติม คุ้มครองโรคร้ายแรง มัลติเพย์

สัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองโรคร้ายแรง มัลติเพย์ คุ้มครอง 108 โรคร้ายแรง พร้อมขยายความคุ้มครองโรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ระยะเริ่มต้นและระยะปานกลาง ครอบคลุมทุกระยะการเจ็บป่วย โดยผู้เอาประกันภัย จะได้รับความคุ้มครอง ในแต่ละกลุ่มโรคร้ายดังนี้

กลุ่มโรคร้ายแรง โรคร้ายแรงระยะเริ่มต้น โรคร้ายแรงระยะปานกลาง โรคร้ายแรงระยะรุนแรง
  คุ้มครอง 25%* คุ้มครอง 50%* คุ้มครอง 100%*
กลุ่มโรคที่ 1- กลุ่มโรคมะเร็ง คุ้มครอง 3 โรคร้ายแรง
  1.1 โรคมะเร็งระยะไม่ลุกลาม 1.2 โรคมะเร็งระยะไม่ลุกลามของอวัยวะ
ที่ระบุที่ได้รับการผ่าตัดแบบกว้าง
1.3 โรคมะเร็งระยะลุกลาม
คุ้มครองสูงสุดไม่เกิน 100%*
กลุ่มโรคที่ 2- กลุ่มโรคร้ายแรงที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะและระบบต่างๆที่สำคัญ คุ้มครอง 29 โรคร้ายแรง
  2.1 ภาวะเลือดจางชนิดจากไขกระดูกฝ่อที่
สามารถกลับเป็นปกติได้
  2.16 โรคโลหิตจางจากไขกระดูก
ไม่สร้างเม็ดโลหิต
  2.2 การผ่าตัดเนื้องอกที่ต่อมหมวกไต   2.17 โรคการทำงานของต่อมหมวกไต
บกพร่องเรื้อรัง
  2.3 โรคไตวายระยะแรก   2.18 ไตวายเรื้อรัง
  2.4 การผ่าตัดตับ 2.13 โรคตับแข็ง 2.19 ตับวาย
  2.5 ภาวะตับอ่อนอักเสบที่มีเนื้อตับอ่อน
ตายเฉียบพลัน
  2.20 ภาวะตับอ่อนอักเสบที่กลับเป็น
ซ้ำและเรื้อรัง
  2.6 การใส่ตะแกรงกรองลิ่มเลือด   2.21 กลุ่มอาการไอเซนเมนเกอร์
  2.7 การผ่าตัดฟื้นฟูทางเดินน้ำดี   2.22 โรคไวรัสตับอักเสบขั้นรุนแรง
  2.8 โรคไตอักเสบลูปูสจากโรคเอสแอลอี
ระยะรุนแรงปานกลาง
  2.23 ไตอักเสบลูปูส จากโรคซิสเต็มมิค
ลูปูส อิริเธมาโตซูส
  2.9 การปลูกถ่ายลำไส้เล็กหรือ
การปลูกถ่ายกระจกตา
  2.24 การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ
หรือปลูกถ่ายไขกระดูก
      2.25 โรคถุงน้ำในไต
  2.10 โรคแรงดันหลอดเลือด
ปอดสูงแบบทุติยภูมิ
  2.26 โรคแรงดันในหลอดเลือดแดง
ปอดสูงแบบปฐมภูมิ
  2.11 โรคหนังแข็งชนิดลุกลามระยะแรก 2.14 โรคหนังแข็งชนิดลุกลามที่มี
อาการเครสซินโด
2.27 โรคหนังแข็งชนิดลุกลาม
  2.12 โรคหอบหืดรุนแรงเฉียบพลัน 2.15 การผ่าตัดเอาปอดออกหนึ่งข้าง 2.28 โรคหลอดลมปอดอุดกั้นเรื้อรัง
ขั้นรุนแรงโรคปอดระยะสุดท้าย
      2.29 การผ่าตัดกระดูกสันหลังคดที่
ไม่ทราบสาเหตุ
คุ้มครองสูงสุด ไม่เกิน 100%*
กลุ่มโรคที่ 3- กลุ่มโรคร้ายแรงที่เกี่ยวข้องกับหัวใจและหลอดเลือด คุ้มครอง 15 โรคร้ายแรง
  3.1 การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจถาวร  3.7 การใส่เครื่องกระตุกหัวใจถาวร 3.9 กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
จากการขาดเลือด
  3.2 การผ่าตัดเลาะเยื่อหุ้มหัวใจ   3.10 โรคกล้ามเนื้อหัวใจ
  3.3 การผ่าตัดบายพาสหลอดเลือด
หัวใจโคโรนารี่ โดยการทำคีย์โฮลล์
3.8 โรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมชนิดที่มีี
กล้ามเนื้อหัวใจหนา โรคกล้ามเนื้อหัวใจ
เสื่อมชนิดที่มีกล้ามเนื้อหัวใจแข็งตัว
มากกว่าปกติีและโรคกล้ามเนื้อหัวใจ
ขยายใหญ่ผิดปกติ
3.11 การผ่าตัดเส้นเลือดเลี้ยง
กล้ามเนื้อหัวใจ
      3.12 ภาวะลิ้นหัวใจติดเชื้อ
  3.4 การผ่าตัดลิ้นหัวใจผ่านทาง ผิวหนัง   3.13 การผ่าตัดลิ้นหัวใจ โดยวิธีการเปิดหัวใจ
  3.5 โรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่รักษา
ด้วยการสวนหลอดเลือดหัวใจ
  3.14 โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
  3.6 การผ่าตัดเล็กของ
เส้นเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้า
  3.15 การผ่าตัดเส้นเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้า
คุ้มครองสูงสุดไม่เกิน 100%*
กลุ่มโรคที่ 4- กลุ่มโรคร้ายแรงที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท คุ้มครอง 31 โรคร้ายแรง
      4.13 โรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์**
      4.14 โรคเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลังอักเสบ
จากเชื้อแบคทีเรีย
  4.1 การผ่าตัดเอาเนื้องอก
ต่อมใต้สมองออก
  4.15 เนื้องอกในสมอง ชนิดที่ไม่ใช่มะเร็ง
  4.2 การสูญเสียการมองเห็น
ของตาหนึ่งข้าง
4.10 เส้นประสาทตาฝ่อที่มี
ความสามารถในการมองเห็นต่ำ
4.16 ตาบอด
      4.17 ภาวะโคม่า
  4.3 โรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง
ที่รักษาโดยใช้ขดลวดผ่านสาย
สวนทางหลอดเลือด
  4.18 โรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง
ที่ต้องรักษาโดยการผ่าตัด
  4.4 การผ่าตัดเลือดคั่งใต้เยื่อหุ้มสมอง   4.19 การบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรง
  4.5 โรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับ
การรักษาโดยวิธีใส่สายสวนเส้นเลือด
บริเวณคอ
4.11 โรคหลอดเลือดสมองที่ต้องได้รับ
การผ่าตัดลอกหลอดเลือดแดงคาโรติค
4.20 โรคหลอดเลือดสมองแตก
หรืออุดตัน
      4.21 เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากวัณโรค
      4.22 โรคของเซลล์ประสาท
ควบคุมการเคลื่อนไหว
  4.6 โรคระบบประสาทมัลติเพิล
สะเคลอโรสิสระยะแรก
  4.23 โรคระบบประสาทมัลติเพิล
สะเคลอโรสิส
      4.24 การฉีกขาดของรากประสาท
ต้นแขน
  4.7 การบาดเจ็บที่ไขสันหลังส่วนคอ 4.12 โรคกล้ามเนื้อเสื่อม
ขั้นรุนแรงปานกลาง
4.25 โรคกล้ามเนื้อเสื่อม
      4.26 โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
  4.8 ภาวะสูญเสียการทำงาน
ของแขนหรือขาหนึ่งข้าง
  4.27 อัมพาตของกล้ามเนื้อแขนหรือขา
      4.28 โรคพาร์กินสัน
  4.9 โรคโปลิโอขั้นร้ายแรงปานกลาง 4.29 โรคโปลิโอ
      4.30 สมองอักเสบจากเชื้อไวรัส
      4.31 ภาวะอะแพลลิก
คุ้มครองสูงสุดไม่เกิน 100%*
กลุ่มโรคที่ 5- กลุ่มโรคร้ายแรงอื่นๆ คุ้มครอง 13 โรคร้ายแรง
      5.4 การติดเชื้อไวรัสภูมิคุ้มกัน
บกพร่องที่เกิดจากการรับเลือด
      5.5 โรคครอยตส์เฟลดต์-จาค็อบ
      5.6 โรคเท้าช้าง
      5.7 การติดเชื้อจากไวรัสอีโบล่า
  5.1 การสูญเสียการได้ยินบางส่วน
หรือการผ่าตัดภาวะโพรงเลือดดำ
สมองอุดตัน
5.3 การผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม 5.8 การสูญเสียการได้ยิน
    5.9 การสูญเสียความสามารถ
ในการพูด
  5.2 แผลไหม้ฉกรรจ์ชนิดรุนแรงน้อย   5.10 แผลไหม้ฉกรรจ์
      5.11 โรคเนื้อเยื่อพังผืดอักเสบติดเชื้อ
และเป็นเนื้อตาย
      5.12 โรคลำไส้อักเสบเป็นแผลรุนแรง
      5.13 ภาวะข้ออักเสบรูมาตอยด์
ชนิดรุนแรง
คุ้มครองสูงสุดไม่เกิน 100%*
กลุ่มโรคที่ 6 - กลุ่มโรคร้ายแรงในเด็ก (อายุ 1 เดือน – 18 ปี) คุ้มครอง 10 โรคร้ายแรง
1. ไข้รูมาติกและลิ้นหัวใจรั่ว
2. โรคคาวาซากิที่ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนของหัวใจ
3. โรคมือเท้าปากที่มีอาการแทรกซ้อนรุนแรง
4. โรคไข้เลือดออกที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี่ชนิดรุนแรง
5. โรคเบาหวานชนิดที่ต้องพึ่งอินซูลิน
6. โรควิลสัน
7. โรคไตอักเสบที่มีกลุ่มอาการเนโฟรติกร่วม
8. โรคสติลล์
9. โรคกระดูกเปราะที่เป็นกรรมพันธุ์
10. โรคฮีโมฟีเลีย A และโรคฮีโมฟีเลีย B
เคลมได้ครั้งละ 25%*  สูงสุด 4 ครั้ง สูงสุดไม่เกิน 100%*
กลุ่มโรคที่ 7 - กลุ่มโรคร้ายแรงในผู้สูงอายุ (อายุตั้งแต่ 51 ปีขึ้นไป) คุ้มครอง 3 โรคร้ายแรง
1. โรคกระดูกพรุน
2. ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ ซึ่งต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
3. โรคสมองเสื่อม
เคลมได้ครั้งละ 25%*  สูงสุด 3 ครั้ง สูงสุดไม่เกิน 75%*
กลุ่มโรคที่ 8 - กลุ่มโรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน คุ้มครอง 4 โรคร้ายแรง
1. การผ่าตัดเพื่อตัดอวัยวะชิ้นใดชิ้นหนึ่ง เพื่อรักษาอาการตายของเนื้อเยื่อที่เกิดจากสภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน
2. ภาวะเบาหวานขึ้นตาโดยต้องรักษาด้วยวิธียิงเลเซอร์
3. ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงและมีกรดคีโตนคั่ง
4. ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงอย่างมาก และมีออสโมลาริตีสูง
เคลมได้ 25%* ต่อโรค เมื่อจ่ายผลประโยชน์นี้แล้วให้ความคุ้มครองข้อนี้สิ้นสุดลง

*ของจำนวนเงินเอาประกันภัยสัญญาเพิ่มเติม คุ้มครองโรคร้ายแรง มัลติเพย์

**ขยายความคุ้มครองโรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ระยะเริ่มต้น และระยะปานกลาง

เงื่อนไขการรับประกัน
1. อายุรับประกัน 1 เดือน – 65 ปี
2. ระยะเวลาเอาประกันภัยและระยะเวลาชำระเบี้ยประกันภัย 1 ปี (ต่ออายุได้ถึงอายุ 84 ปี คุ้มครองถึงอายุ 85 ปี)
3. จำนวนเงินเอาประกันภัย ขั้นต่ำ 500,000 บาท
4. การชำระเบี้ยประกันภัย รายปี, ราย 6 เดือน, ราย 3 เดือน, รายเดือน

หมายเหตุ

  • - เพื่อสิทธิประโยชน์สูงสุดของท่านควรถือกรมธรรม์จนครบกำหนดสัญญา และผลประโยชน์ที่ได้รับจากกรมธรรม์ประกันชีวิตจะ ไม่มีการหักภาษีใดๆ ทั้งสิ้น และเป็นเงินปลอดหนี้ เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิ์ยึดได้ ยกเว้นเท่าจำนวนเบี้ยประกันภัยที่จ่ายไปเท่านั้น
  • - การนำส่งเบี้ยประกันภัยเป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันภัย การที่ตัวแทนประกันชีวิตเก็บเบี้ยประกันภัยเป็นการให้บริการเท่านั้น โดยท่านสามารถชำระเบี้ยประกันภัยงวดต่อไปผ่านช่องทางต่างๆ เช่น สาขา, ที่ทำการไปรษณีย์, เคาน์เตอร์เซอร์วิส, ธนาคาร ฯลฯ หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากคู่มือผู้เอาประกันภัย
  • - เบี้ยประกันชีวิตสามารถนำไปหักค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามกฎหมายตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินปีละ 100,000 บาท (ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฉบับที่ 172)
  • - เบี้ยประกันภัยในส่วนของการประกันสุขภาพ* สามารถนำหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามกฎหมายตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินปีละ 25,000 บาท ทั้งนี้เมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตแล้วต้องไม่เกินปีละ 100,000 บาท (ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฉบับที่ 383) *เบี้ยประกันภัยในส่วนของการประกันสุขภาพ หมายถึง เบี้ยประกันภัยเฉพาะส่วนของผลประโยชน์คุ้มครองการประกันสุขภาพ ดังต่อไปนี้
  • 1. การประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลอันเกิดจากการเจ็บป่วยและการบาดเจ็บการชดเชยการทุพพลภาพและการสูญเสียอวัยวะ เนื่องจากการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ
  • 2. การประกันภัยอุบัติเหตุเฉพาะที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล การทุพพลภาพ การสูญเสียอวัยวะ และการแตกหักของกระดูก
  • 3. การประกันภัยโรคร้ายแรง
  • 4. การประกันภัยการดูแลระยะยาว
  • - ผู้ขอเอาประกันภัย ต้องแถลงข้อมูลตามความเป็นจริงในเอกสารใบคำขอเอาประกันภัย เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของท่าน
  • - ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจรายละเอียดของกรมธรรม์ประกันภัย ก่อนตัดสินใจทำประกันภัย